Material Handling Equipment Program
(MHE Program)
หลักสูตรต้นแบบจากญี่ปุ่นช่วยพัฒนาทักษะบุคลากรให้สามารถวางแผนและออกแบบแปลนของการจัดการคลังสินค้า เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบ Semi-Automate หรือ Fully-Automate ในอนาคต
หลักสูตรต้นแบบจากญี่ปุ่นช่วยพัฒนาทักษะบุคลากร ให้สามารถวางแผนและออกแบบแปลนของการจัดการคลังสินค้า
พร้อมทั้งตัวอย่าง และกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
มีการเปิดอบรมบุคลากรในญี่ปุ่นแล้วมากกว่า 10 ปี และเป็นหลักสูตรที่เน้นภาคปฏิบัติเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบกาณณ์ในงานด้าน Material Handling และได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรของญี่ปุ่นโดยตรง
จากกรมสรรพากร เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการทักษะบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Future Skills Set)
ปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับแนวทางของประเทศไทย ช่วยพัฒนาทักษะบุคลากรให้สามารถวางแผน ออกแบบแปลนการจคัดการคลังสินค้าได้
สำหรับการพัฒนาในอนาคต รวมทั้ง สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนาคลังสินค้าไปสู่ระบบ Automation ในอนาคต
หรือศูนย์กระจายสินค้า และบุคลากรในการวางแผน และออกแบบการจัดการบริหารเคลื่อนย้ายสินค้าในคลังสินค้า
ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการจัดการคลังสินค้า และ Materials Handling
ที่สนใจงานด้านการจัดการดูแลคลังสินค้า หรือศูนย์กระจายสินค้า
จำนวนผู้เข้าอบรม
40 คน
ภาษาที่ใช้ในการอบรม
ภาษาไทย
รูปแบบในการอบรม
ทฤษฎี 40%
ปฏิบัติการ 60%
วันที่
27 กันยายน – 2 พฤศจิกายน 2567 (ทุกวันศุกร์-เสาร์)
เวลา
09:00 – 17:00 น.
* สรท.ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้ารับการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลำดับในการลงทะเบียน*
Basic Materials Handling Course
MH Issued Discussion
ดร.ชัยชาญ เจริญสุข
Receipt and Warehousing Operations
คุณภาสกร ตันติพงษ์
Shipping, Shipping Inspection Operations
คุณเก่งวิช แสนรักษ์
Forklift (Including Pallet rack and Safety)
ดร.ศรีสลา ภวมัยกุล,คุณธีระโชติ บรรเจิดรุ่งขจร
Information System
ดร.กนก จุฑามณี
Unmanned Vehicles /Robots
ดร.ปภัสสร์ ฟุ้งธรรมสาร
Sorting and Picking (Sorter /Conveyor)
คุณสุรสิทธิ์ ศิริสมภพ,คุณธีรโชติ บรรเจิดรุ่งขจร
Storage System (Trend & Example of Storage)
คุณชนิตา ตันซื่อ,คุณนพรุจ ธรรมจิโรจ
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้รับการประสานจากหน่วยงาน AOTS ญี่ปุ่น เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการจัดทำหลักสูตรอบรม ด้าน Material Handling Equipment (MHE) ในประเทศไทย ซึ่งหลักสูตร MHE ดังกล่าวจะมีต้นแบบมาจากหลักสูตรอบรมในประเทศญี่ปุ่น โดยความร่วมมือระหว่าง Japan Institute of Material Handling (JIMH) และ Japan Institute of Logistics system (JILs) ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวง METI ของญี่ปุ่น ดังนั้นทางญี่ปุ่นจึงมีความต้องการขยายหลักสูตรการอบรมดังกล่าว มายังประเทศไทย จึงได้มีการหารือร่วมกันเพื่อ พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร MHE ให้มีความเฉพาะ เหมาะสมกับรูปแบบการบริหารงานของภาคธุรกิจของไทย
ซึ่งเนื้อหา MHE ดังกล่าวนั้นครอบคลุมในหลายมิติ ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร, การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือ ,การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคต ซึ่งจะช่วยยกระดับการบริหารงาน และเสริมประสิทธิภาพงานในคลังสินค้าของประเทศไทย ทั้งนี้หลักสูตรอบรมดังกล่าว จะช่วยพัฒนาบุคลากรไทยในสายงานให้มีความเชี่ยวชาญ และช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ และนำเทคโลยีมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของโลกอนาคต